ปี 65 “บางกอกแอร์เวย์ส” โกยรายได้ 1.2 หมื่นล้าน โตพุ่ง 124% ยังขาดทุน 2,125 ล้าน

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผยว่า จากทิศทางของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 64 โดยมีผู้โดยสารต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยสะสมรวมกว่า 5.4 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบและส่งผลเชิงบวกต่อภาคอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย โดยปี 65 บริษัทฯ มียอดขนส่งผู้โดยสารรวม 2.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 394.8% และมีจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการรวม 29,892 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 243.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 64 และมีอัตราขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 76.1% มีราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 3,150.8 บาท หรือเพิ่มขึ้น 48.7% โดยในภาพรวมเป็นไปตามคาดการณ์

นายพุฒิพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลการดำเนินงานปี 65 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 12,742.1 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 124.8% เมื่อเทียบกับปี 64 ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการจำหน่ายบัตรโดยสาร 609.8% รายได้จากธุรกิจสนามบิน 465.4% และรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน 71.6% มีค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 69% จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนขาย และค่าบริการผู้โดยสารเป็นหลัก โดยมีผลขาดทุนลดลง 75.3% หรือมีผลขาดทุนอยู่ที่ 2,125.9  ล้านบาท ทั้งนี้ปี 65 บริษัทฯ เปิดให้บริการเส้นทางบินทั้งหมด 24 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางบินในประเทศ 17 เส้นทาง และระหว่างประเทศ 7 เส้นทาง โดยบริษัทฯ ได้ทยอยปรับเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางบินที่มีปริมาณความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ กรุงเทพฯ-สมุย กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-พนมเปญ และสมุย-สิงคโปร์

รวมถึงการกลับมาให้บริการในเส้นทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3/65 ส่งผลให้มีปริมาณที่นั่งจำนวน 3.4 ล้านที่นั่ง หรือคิดเป็น 40.4% ของช่วงปีก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 โดยบริษัทฯ ย่อยได้จัดตั้งกองทรัสต์ และนำทรัสต์ เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินการบินกรุงเทพ (BAREIT) เข้าทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือน ก.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 65คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายพุฒิพงศ์ กล่าวอีกว่า บางกอกแอร์เวย์สมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพธุรกิจให้สอดรับต่ออุปสงค์การเดินทางของผู้โดยสาร และตอกย้ำในปณิธานความเป็นผู้นำธุรกิจสายการบินระดับภูมิภาค ล่าสุดบริษัทฯ ได้รับรางวัลสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในโลก และสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 65 และได้รับการจัดอันดับที่ 23 สาขาสายการบินยอดเยี่ยมของโลกประจำปี 65 จากการประกาศผลของสกายแทรกซ์ เวิลด์ แอร์ไลน์ อวอร์ด ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากวงการธุรกิจการบินนานาชาติ นอกจากนี้บริษัทฯ ตระหนักถึงการดำเนินการด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม พลังงาน ผ่านนโยบายและการจัดการของบริษัทฯ ส่งผลให้สนามบินสมุย และสนามบินตราด ได้รับรางวัล สนามบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Airport) ประจำปี 64 จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นับเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดสำหรับการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาท่ามกลางสภาวะที่ท้าทาย

อีกทั้งบริษัทฯ ยังเล็งเห็นความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านช่างอากาศยานให้มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยาน จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการบินพลเรือน เพื่อให้การสนับสนุน และยกระดับมาตรฐานการฝึกอบรมการซ่อมบำรุงอากาศยานภาคปฏิบัติขั้นพื้นฐานของประเทศไทยให้สามารถก้าวไกลทัดเทียมสากลด้วย.

You May Also Like

More From Author